วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ปีนี้ตรงกับวันที่ 3 มิถุนายน พ.. 2566 วันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญของโลก เพราะเป็นวันสำคัญทางศาสนาที่เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปี) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

ประวัติ วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

จากหลักฐานพบว่า วันวิสาขบูชา ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกาเมื่อประมาณ พ.. 420 โดยพระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกาได้เป็นผู้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา นับจากนั้นกษัตริย์แห่งลังกาพระองค์อื่นๆ ก็ได้ถือปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบต่อกันมา ส่วนการเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยนั้นอาจเป็นเพราะเมื่อครั้งสมัยสุโขทัย ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างมาก มีพระสงฆ์จากเมืองลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาและนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทย ซึ่งการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกเอาไว้ในหนังสือ นางนพมาศ สรุปใจความได้ว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนครด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

ต่อมาภายหลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้นไม่มีปรากฏหลักฐานการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (.. 2360) พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 .. 2360 โดยให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศลทั่วหน้ากัน อีกทั้งการรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ถือว่าเป็นแบบอย่างปฏิบัติในการประกอบพิธีวิสาขบูชาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมในวันวิสาขบูชา ที่ชาวพุทธนิยมทำ

เมื่อวันวิสาขบูชามาถึง พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันก็จะมีการบำเพ็ญกุศล เช่น ตั้งใจรักษาศีล 5 ศีล 8 งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ทำบุญถวายสังฆทาน ปล่อยนกปล่อยปลา ฟังพระธรรมเทศนา รวมถึงการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ

ก่อนจะเริ่มทำการเวียนเทียน พุทธศาสนิกชนจะร่วมกันกล่าวบทสวดมนต์และคำบูชาในวันวิสาขบูชา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดก่อนเริ่มการเวียนเทียน มีดังนี้ 

  1. บทบูชาพระรัตนตรัย
  2. บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
  3. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
  4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
  5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
  6. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
  7. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
  8. บทสรรเสิรญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ
  9. บทสวดเนื่องในวันวิสาขบูชา

(หันทะ มะยัง วิสาขะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส)

วิสาขะ ปุณณะมายัง โย ชาโต อันติมะชาติยา ปัตโต จะ อะภิสัมโพธิง อะโถปิ ปะรินิพพุโต อะโถปิ ปะรินิพพุโต โลเก อะนุตตะโร

สัตถา โลเก อะนุตตะโร สัตถา โลเก อะนุตตะโร สัตถา ทะยาณาณัณณะวาสะโย นายะโก โมกขะมัคคัสมิ ติวิธัตถูปะเทสะโก

มะหาการุณิกัง พุทธัง มะยันตัง สะระณัง คะตา อามิเสหิ จะ ปูเชนตา ธัมเม จะ ปะฏิปัตติยา อิมันทานิ สุนักขัตตัง อะภิมังคะละสัมมะตัง

วิสาโขฬุกะยุตเตนะ ปุณณะจันเทนะ ลักขิตัง สัมปัตตา อะนุกาเลนะ พุทธานุสสะระณาระหัง ชาติ สัมโพธิ นิพพานะ กาละภูตัง

สะยัมภุโน ตัง สัมมานุสสะระมานา สุจิรัง นิพพุตา มะปิ ปะสันนาการัง กะโรนตา สักกาเร อะภิสัชชิยะ ทัณฑะทีเป ทีปะฆะเร

มาลาวิกะติอาทะโย ตัสเสวะ ปูชะนัตถายะ ยะถาสะติ ยะถาพะลัง สะมาหะริตวา เอกัตถะ ฐะปะยิมหา ยะถาระหัง

นะรานัญจาปิ สัพเพสัง สัมธัมเม สัมปะสีทะตัง ธัมมัสสะวะนัง กะริสสามะ สัมพุทธะคุณะทีปะนัง พุทธัสสุโพธิตาทีนัง ทีปะนัตถัง มะเหสิโนติฯ

เมื่อสวดจบแล้วจะมีการจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชา จากนั้นจึงเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ โดยในขณะที่เดินพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยการสวดบท อิติปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณด้วยการสวด สวากขาโต (รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณด้วยการสวด สุปะฏิปันโน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนครบ 3 รอบ เมื่อเดินเวียนครบแล้วให้นำธูปเทียน ดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี

หลักธรรมที่ควรรู้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *