ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 5 ชัยชนะเหนือการกล่าวร้ายใส่โทษ

ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 5

ความหมายบทสวดพาหุง บทที่บทสวดพาหุงฯ ที่หลายคนท่องได้แล้ว และบางคนกำลังหัดท่อง ชื่อเต็มว่าชัยมงคลคาถา” เป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ที่นำเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงผจญและชนะมาร รวมไว้ในคาถานี้ เป็นชัยชนะที่ไม่ได้ใช้พละกำลังหรือปาฏิหาริย์ แต่อยู่เหนือมารผจญทั้งหลาย โดยใช้ธรรมะและความอดทนอดกลั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากความไม่ดีของมารทั้ง 8 ประการ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสวดบทนี้ทุกครั้งเพื่อใช้ในการทำราชสงคราม เพื่อให้มีชัยเหนืออริราชศัตรู อย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเอาชัยชนะได้ ซึ่งบทนี้จะกล่าวถึงบทที่ 5 ชัยชนะเหนือการกล่าวร้ายใส่โทษ (สันติธรรม)

บทสวดพาหุง

พาหุงมหากา ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 5

บทที่ 5 ชัยชนะเหนือการกล่าวร้ายใส่โทษ (สันติธรรม)

กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้ากับนางจิญจมาณ ผู้ซึ่งแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ ด่าว่าใส่ร้ายพระพุทธองค์ แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงเอาชนะ ด้วยสันติธรรม โดยการสงบ ระงับพระหฤทัย เป็นสง่าเฉยอยู่ท่ามกลางหมู่คน ให้ความจริงปรากฏว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษ

ว่ากันว่า ขณะที่พระพุทธเจ้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนอย่างมาก ทำให้นักบวชในศาสนาอื่นๆ ได้รับผลกระทบเสื่อมลาภ ผู้คนนับถือน้อยลง จึงเกิดความอิจฉา และคิดจะกำจัดพระพุทธเจ้า โดยส่งสาวงามชื่อว่า ” จิญจมาณวิกา ” ให้ไปใส่ร้ายพระพุทธองค์

นางจิญจมาณวิกาทำทีเป็นศรัทธาในพุทธศาสนา ก็ได้ไปที่วัดเชตวัน แต่ช่วงเย็นเวลาที่ชาวบ้านกลับจากวัด นางจิญจิมาณไม่ยอมกลับ แต่ทำทีเดินลับหายไปยังที่ที่พระพุทธเจ้าประทับ และในช่วงเช้าที่ชาวบ้านเข้าวัด ก็แกล้งเป็นเดินสวนออกมา ให้ชาวบ้านเข้าใจว่าค้างคืนที่วัด

พอเวลาผ่านไป 3 เดือน ก็ได้นำผ้ามาพันผูกท้องให้นูนคล้ายตั้งครรภ์อ่อนๆ พอถึงเดือนที่ 8 ก็นำท่อนไม้มาพันผ้าผูกให้แลดูเหมือนตั้งครรภ์แก่ใกล้คลอด

วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรม นางจิญจมาณวิกา ก็เข้าไปยืนตรงหน้าที่ประทับพร้อมกับกล่าว เสียงดังให้ทุกคนได้ยิน

“ ท่านสมณะ ท่านจะมาเสแสร้งนั่งแสดงธรรมจอมปลอมหลอกลวงผู้คนไปไย ด้วยเวลานี้ท้องฉันนั้นได้โตใหญ่จนยากจะปกปิดความลับระหว่างเราทั้งสองได้อีกต่อไปแล้ว ท่านจงหันมาไยดีในตัวฉันซึ่งเป็นภรรยา และบุตรในครรภ์ฉัน ซึ่งเป็นลูกของท่านจะดีกว่า ”

พระพุทธองค์ทรงหยุดแสดงธรรมและกล่าวกับนางจิญจมาณว่า

“ ดูก่อนน้องหญิง เรื่องนี้เมีเพียงจ้ากับเราสองคนเท่านั้นที่รู้กันว่าจริงหรือไม่จริง ”

นางจิญจมาณวิกาจึงตอบว่า

“ จริงทีเดียว เพราะการที่ข้าพเจ้ามีครรภ์ขึ้นนี้ มีแต่ท่านกับข้าพเจ้าเท่านั้นที่รู้กัน ”

บางคนไม่เชื่อ แต่บางคนเริ่มสงสัย เพราะเคยเห็นนางเดินเข้าออกที่ประทับ ชาวบ้านพากันฮือฮา แต่พระพุทธองค์ทรงนิ่งเฉย

ชาวบ้านจึงกล่าวเตือนสติจิญจมาณวิกาว่า

“ จิญจมาณวิกาเอ๋ย การกล่าววาจาโป้ปดนั้นเป็นการผิดศีล แต่วาจาที่กล่าวเท็จใส่ร้ายต่อผู้ทรงศีลนั้น ผิดยิ่งกว่ามากมายนัก จงหยุดเถิด ”

แต่นางจิญจมาณวิกาไม่รู้สึกผิด และยังดุด่าใส่ร้ายพระพุทธองค์ต่อ หาว่าพระพุทธองค์ทรงปัดและบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบต่อบุตรในครรภ์

ขณะเดียวกัน เทพเทวดาเห็นการกระทำของนางจิญจมาณวิกา จึงแปลงกายเป็นหนู ปีนไต่ไปบนตัวนาง และกัดสายคาดผ้าที่ผูกท้องจนหลุดร่วงลงมากองที่พื้น

ความจริงจึงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่านางจิญจมาณไม่ได้ตั้งครรภ์ และใส่ร้ายพระพุทธองค์ ชาวบ้านพากันไล่นางออกจากที่ตรงนั้น เพียงพ้นประตูวัดเท่านั้น นางจิญจมาณก็ถูกแผ่นดินสูบ

ซึ่งเรื่องนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงเอาชนะด้วยสงบเยือกเย็น ระงับพระทัย ไม่ตอบโต้ ปล่อยให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าทั้งหมดเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้

ความหมายบทสวดพาหุง บทที่ 5

หลักธรรมที่ควรรู้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *