ทศชาติชาดก คือ เรื่องราว 10 พระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ในความหมายของชาดก คือ เล่าถึงการที่พระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิด ถือกำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกัน มากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่าง ชาดกถือเป็นการบำเพ็ญบารมี สะสมคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ
บารมีชาดกทั้ง 10 เรื่องราว ทศชาติชาดก พระเจ้าสิบชาติ
- เตมียชาดก (เนกขัมมะบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ การออกบวช หรือออกจากกาม
- มหาชนกชาดก (วิริยบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี คือ ความพากเพียร ความบากบั่น
- สุวรรณสามชาดก (เมตตาบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี คือ ความไมตรี ความปรารถนาให้ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
- เนมิราชชาดก (อธิษฐานบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ ความตั้งใจ ความมั่นคงแน่วแน่
- มโหสถชาดก (ปัญญาบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญปัญญาบารมี คือ มีความรอบรู้ ความเข้าใจ แยกแยะเหตุและผล คุณและโทษ
- ภูริทัตชาดก (ศีลบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญศีลบารมี คือ การรักษาศีล บังคับกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม
- จันทกุมารชาดก (ขันติบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดทนเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ดีงาม
- นารทชาดก (อุเบกขาบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ ความวางเฉย ไม่ยินดียินร้าย วางใจเป็นกลาง
- วิธุรชาดก (สัจจบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญสัจจบารมี คือ ความสัตย์ พูดอย่างไหนทำอย่างนั้น วางใจได้ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
- เวสสันดรชาดก (ทานบารมี) แสดงถึงการบำเพ็ญทานบารมี คือ บริจาคทาน บริจาคทุกสิ่งอย่าง การเสียสละที่ยิ่งใหญ่
ประเภทของชาดก นิทานชาดกพระพุทธเจ้า
ชาดก มาจากคำภาษาบาลีว่า ชาตก (อ่านว่า ชา–ตะ–กะ) แปลว่า ผู้เกิดแล้ว ใช้เป็นคำเรียกเรื่องราวของพระพุทธเจ้าที่มีมาในอดีตชาติ ซึ่งเสวยพระชาติในสภาพต่างๆ ทั้งที่เป็นมนุษย์และสัตว์ นอกจากนี้ ชาดก ยังเป็นชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าแบบหนึ่งใน 9 แบบที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ (อ่านว่า นะ–วัง–คะ–สัด–ถุ–สาด)
ชาดกโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- นิบาตชาดก (อ่านว่า นิ–บาด–ชา–ดก) หรือ ชาดกในนิบาต หมายถึง ชาดกที่มีอยู่ในคัมภีร์ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี มีชาดกทั้งหมดจำนวน 547 เรื่อง นิบาตชาดกแต่งเป็นคาถาคือฉันทลักษณ์ โดยจะมีการแต่งขยายความเป็นร้อยแก้วคือรูปแบบคาถาสุภาษิต เหตุที่เรียกว่า นิบาตชาดก เพราะชาดกในพระไตรปิฎกจะถูกจัดหมวดหมู่ตามจำนวนคาถา มีทั้งหมด 22 หมวด หรือ 22 นิบาต นิบาตสุดท้ายคือนิบาตที่ 22 ประกอบด้วยชาดก 10 เรื่อง หรือที่เรียกว่า “ทศชาติชาดก“
- พาหิรกชาดก (อ่านว่า พา–หิ–ระ–กะ–ชา–ดก) หรือ ชาดกนอกนิบาต หมายถึง ชาดกที่ไม่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อย่าง ปัญญาสชาดก (อ่านว่า ปัน-ยาด-สะ-ชา-ดก) ซึ่งพระภิกษุชาวเชียงใหม่เป็นผู้แต่งขึ้น มีชาดกนอกนิบาต 50 เรื่อง ผนวกกับปัจฉิมภาคอีก 11 เรื่อง รวมทั้งหมด 61 เรื่อง
It is perfect time to make some plans for the future and it’s time to be happy.
I’ve read this post and if I could I want to suggest you few interesting things or
tips. Maybe you can write next articles referring to this article.
I want to read more things about it!
Thank you so much for your thoughtful comment! We’re delighted to announce that an English version of our website is in the works, and we would be thrilled if you joined us in this endeavor. Your suggestions are always welcome, as we strive to create content that is engaging and accessible to all. Looking forward to having you with us on this exciting journey! you could leave your phone number so we can ring you asap.